อาหาร (Food) คือ สารที่เข้าสู่ร่างกายไปแล้วจะทำให้สิ่งมีชีวิตเจริญเติบโต ให้พลังงานเพื่อความแข็งแรง และซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ
อาหารประเภทต่างๆที่รับประทานในแต่ละวัน จำแนกออกได้เป็นหมู่ใหญ่ๆ คือ
หมู่ที่ 1 เนื้อสัตว์ต่างๆ ไข่ ถั่วเมล็ดแห้ง นม
หมู่ที่ 2 ข้าว แป้ง น้ำตาล เผือก มัน และน้ำตาล
หมู่ที่ 3 ผักใบเขียว และพืชผักอื่นๆ
หมู่ที่ 4 ผลไม้ต่างๆ
หมู่ที่ 5 ไขมันจากสัตว์และพืช
สารอาหาร (Nutrient) คือ สารที่เป็นองค์ประกอบของอาหาร แบ่งตามหลักโภชนาการ ได้แก่ โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน วิตามิน เกลือแร่ และน้ำ
ปริมาณสารอาหารประเภทต่างๆ ในร่างกายมนุษย์ประกอบด้วย ดังนี้
สารอาหาร |
ร้อยละในร่างกาย |
น้ำ |
65 |
โปรตีน |
20 |
ไขมัน |
10 |
คาร์โบไฮเดรต |
น้อยกว่า 1 |
เกลือแร่ |
4 |
สารชีวโมเลกุล (Biomolecules) หมายถึง สารอินทรีย์ที่สิ่งมีชีวิตสังเคราะห์ขึ้นเท่านั้น เช่น โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ลิพิด กรดนิวคลีอิก จัดเป็นองค์ประกอบพื้นฐานของอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย มีโมเลกุลตั้งแต่ขนาดเล็กจนถึงขนาดใหญ่มาก มีธาตุไฮโดรเจนและธาตุคาร์บอนเป็นองค์ประกอบหลักแต่ละชนิดมีโครงสร้าง สมบัติและปฏิกิริยาที่ต่างกัน ทำให้มีหน้าทีและประโยชน์ต่อร่างกายแตกต่างกันไป
ก่อนศึกษาเนื้อหาในบทเรียนนี้ ขอทบทวน หมู่ฟังก์ชัน (Functional groups) ของสารอินทรีย์ที่ควรรู้จัก ดังนี้