เนื้อหาบทเรียน

  บทนำ
  คาร์โบไฮเดรต
  โปรตีน
  ลิพิด
  กรดนิวคลีอิก
  เอนไซม์
  เอกสารอ้างอิง
 
คุณเป็นคนเข้าเยี่ยมชมคนที่

 

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 


          พันธะเพปไทด์ (Peptide bond) คือ พันธะโคเวเลนต์ที่เกิดขึ้นระหว่าง C อะตอมในหมู่คาร์บอกซิล
() ของกรดอะมิโนโมเลกุลหนึ่งยึดกับ N อะตอม ในหมู่อะมิโน (-NH2) ของกรดอะมิโนอีกโมเลกุลหนึ่ง ดังภาพสมการ

          บริเวณที่เป็นพันธะเพปไทด์จะหมุนไม่ได้ ส่วนที่หมุนได้ คือ พันธะระหว่าง C - N หมุนด้วยมุม Ø และพันธะระหว่าง C - C หมุนด้วยมุม Ÿ ดังภาพ

          บริเวณที่เป็นพันธะเพปไทด์ อะตอมของธาตุจะทำมุมกัน ดังภาพ

          สารที่ประกอบด้วยกรดอะมิโน 2 โมเลกุล เรียกว่า ไดเพปไทด์
         
สารที่ประกอบด้วยกรดอะมิโน 3 โมเลกุล เรียกว่า ไตรเพปไทด์
         
สารที่ประกอบด้วยกรดอะมิโนตั้งแต่ 100 โมเลกุลขึ้นไป เราเรียกพอลิเพปไทด์นี้ว่า โปรตีน

          โปรตีนเป็นพอลิเพบไทด์ ซึ่งมีมวลโมเลกุลมากกว่า 5,000
         
สารสังเคราะห์บางชนิดก็เกิดพันธะเพปไทด์เหมือนกัน
          พวกเพปไทด์ที่เป็นโมเลกุลเปิดไม่ดูดเป็นวงจะหาจำนวนพันธะเพปไทด์ได้ดังนี้

          ถ้ากรดอะมิโน n ชนิด ชนิดละ 1 โมเลกุล มาทำปฏิกิริยาเกิดเป็นพอลิเพปไทด์แบบต่างๆ โดยที่พอลิเพปไทด์แต่ละแบบต่างประกอบด้วยกรดอะมิโนแต่ละชนิดเท่าๆ กัน จะพบว่า

          โปรตีนแบ่งตามลักษณะโครงสร้างออกเป็น 2 แบบ คือ
          1. โปรตีนเส้นใย (Fibrous Proteins) มีลักษณะเป็นเส้นใยที่เกิดเป็นพอลิเพปไทด์สายยาวๆ เป็นโครงรูปที่มีลักษณะเฉพาะตัวและคงที่ ได้แก่ เกลียวแอลฟา (â-Helix) และแผ่นพลีตบีตา (ß -pleated sheet) โดยอาศัยแรงยึดระหว่างสาย เช่น ไฟโบรอินในเส้นไหม อีลาสตินในเอ็น คอลลาเจนในเนื้อเยื่อยึดต่อ เคอราตินในผม ขน คลีบ กีบ และเล็บ ไมโอซินในกล้ามเนื้อ เป็นต้น

          2. โปรตีนก้อนกลม (Globular Proteine) มีลักษณะกลมมนหรือวงรี เพราะสายพอลิเพปไทด์ขดมวนกันอย่างหนาแน่น เช่น อินซูลิน แอลบูมิน โกบูลินในพลาสมา ฮีโมโกบิล และเอนไซม์ชนิดต่างๆ เป็นต้น

   
Copy © Right 2008 All Servers
By Miss.Watchara H. & Mr.Theerapong S.
E-mail : Littleimp13@hotmail.com